วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือการใช้งานโปรแกรมSony Vegas 7.0

1.ภาพรวมของโปรแกรม Sony Vegas
Vegas หรือ ชื่อเต็ม คือ Sony Vegas คือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนระบบปฏิบัติการWindows มีชื่อเสียง ตัวหนึ่ง เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ400-600 USD นับตั้งแต่รุ่น 2มา ซึ่งตอนนี้Vegas ได้พัฒนามาถึงรุ่น 8 แล้ว และVegasเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Commercial (ซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายหรือเรียกว่าซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์)
Sony Vegas มีความสามารถคร่าวๆดังนี้
1. สามารถตัดต่อภาพและเสียงได้ง่าย
2. ใส่ลูกเล่นได้ทั้งภาพ(เช่นทำให้ภาพดูเป็นภาพเก่า)และเสียง(เช่นปรับเสียงชายเป็นเสียงหญิง)
3. มีลักษณะการทำงานเป็นชั้น(Layer)ทำให้รองรับการซ้อนภาพมากมาย
4. สามารถทำเสียง 5.1 (เสียงรอบทิศทาง) ได้จากในตัวโปรแกรมเลย
5. สนับสนุนการสร้างสื่อคุณภาพสูงหลายประเภทเช่น vcd svcd dvd และวีดีโอสำหรับเว็บไซท์
6. รองรับรูปแบบไฟล์มากมาย ทำให้สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นเช่น Photoshop ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากการใช้งานที่ง่ายแต่มีอะไรที่ซับซ้อนอยู่ลึกๆ มีลูกเล่นมากพอที่สามารถประยุกต์ ใช้ได้หลากหลาย ซึ่งแตกต่างจาก โปรแกรมราคาถูกๆ ทั่วไป ที่ทำได้น้อยกว่า และไม่ยืดหยุ่นในการใช้งานเท่าความสามารถตามราคา การทำงานก็โดยสามารถคลิ้กลาก แล้ววาง (Drag and Drop) และ คลิ้กขวา โดยใช้ mouse ก็ตัดต่อได้แล้ว ด้วยการทำงานแบบชั้น(layer) คล้ายๆกับโปรแกรม Photoshop และมี Effect และ Transition ที่มากพอเช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆที่สำเร็จรูปมาให้ใช้ได้ทันที จึงทำความเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีสามารถในการตัดต่อภาพและเสียงไปพร้อมกันได้เลย ซึ่งเป็นความสามารถอันโดดเด่นสำหรับVegas ซึ่งหาตัวจับได้ยาก ที่จะมีโปรแกรมที่ทำได้แบบนี้
เดิมที โปรแกรมนี้ เป็นของ SonicFoundry ซึ่งแต่เดิม โปรแกรมของบริษัทนี้ เป็นโปรแกรมตัดแต่งเสียงดนตรี ต่อมาจึงพัฒนามีโปรแกรมตัดต่อ วิดีโอ ซึ่งเรื่องเสียงเป็นจุดแข็งของโปรแกรมนี้เลยก็ว่าได้ เนื่องด้วย จุดเด่นที่มี ในปี ค.ศ. 2003 บริษัท Sony Pictures Digital ได้ซื้อ Sonic Foundry's desktop software ทั้งหมดไป(ตอนนั้น vegas รุ่น4) ทั้ง ACID Sound Forge and Vegas รวมถึงอื่นๆด้วย (ราคาปลีกแต่ละตัวแพงๆทั้งนั้น) และได้ตั้ง sonymediasoftware ขึ้นมาจัดการกับโปรแกรมเหล่านี้ หลังจากที่ Sony ซื้อไป ก็ได้ทำการพัฒนา โปรแกรมเหล่านี้ ให้มีชื่อเสียงมากขึ้น โดยเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เพื่อแข่งขันกับ โปรแกรมประเภทเดียวกันที่มีชื่อเสียงมาก่อน รวมถึง การปรับปรุงตัวโปรแกรมให้ สามารถทำงานร่วมกับ อุปกรณ์ของ Sony หลายตัวได้
ข้อดีและข้อด้อยของโปรแกรมข้อดี
ใช้งานง่าย ทำให้มือใหม่เรียนรู้ได้เร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตำราใด ในเบื้องต้นได้ เพียงแค่ลากวาง มั่วๆก็เป็นแล้วในการตัดต่อง่ายๆ สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพไม่สูงนักในการใช้งาน ที่สำคัญ
มี Download ฟรีที่ เว็บไซต์ http://www.sonycreativesoftware.com/ได้เลย เพียงแค่ หา crack ก็ใช้งานได้สมบูรณ์แล้ว
ข้อด้อย
บางอย่างยังด้อยกว่าโปรแกรมชื่อดังที่มีอายุมานานแล้วเช่น มีการสนับสนุนจาก บรรดาผู้ผลิต โปรแกรมที่เรียกว่า plug ins ต่างๆน้อย รวมถึงการใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ต่างๆด้วย เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอ ที่ไม่แพร่หลายเท่า แต่ปัจจุบันเริ่มดีขึ้น ผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆ ต่างก็ปรับแต่งให้สามารถใช้ร่วมกับ vegas ได้มากขึ้น

ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับ Vegas 7
- Microsoft Windows 2000 SP4, XP Home หรือ XP Professional (Windows XP SP2 ใช้สำหรับ HDV and XDCAM) - หน่วยประมวลผล(CPU)ความเร็วประมวลผล 800 MHz ขึ้นไป (แนะนำให้ใช้ 2.8 GHz สำหรับ HDV) - พื้นที่ hard-disk 200 MB สำหรับการติดตั้ง- หน่วยความจำ(RAM) 256 MB (แนะนำให้ใช้ 512 MB สำหรับ HDV) - DVD-ROM ไดร์ฟ-- Microsoft DirectX 9.0- Microsoft .NET Framework 2.0 - Internet Explorer 5.1 or later3 โปรแกรมที่กล่าวมา ต้องถูกติดตั้งไว้แล้วก่อนใช้งานVegas
2.หน้าตาของโปรแกรมและการใช้งานเบื้องต้น
3.การใช้งาน Transition VideoFx และ Media Generators
4.การจัดการด้านเสียง
5.การ Render งาน
1. คลิกเมนู File เลือก Render As…
2. จะปรากฏหน้าต่าง Render As… ขึ้นมาดังภาพ



3. หลังจากคลิกเลือกแล้วเกิดหน้าต่าง Render As.. มาให้เลือกที่เก็บไฟล์ (ตามหมายเลข 1)
4. ตั้งชื่อไฟล์ (ตามหมายเลข 2)
5. เลือกชนิดของไฟล์ (ตามหมายเลข 3)
6. เลือก Template ที่จะมาทำการเร็นเดอร์ (ตามหมายเลข 4)
7. เมื่อเลือกครบตาม 1 ,2 3 และ 4 แล้ว เราจึงจะ Save ได้ (ตามหมายเลข 5)
รูปแบบในการเก็บไฟล์งาน การเก็บงานของเราให้อยู่ในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไปใช้งานอะไรเป็นสำคัญ เพราะการเก็บแต่ละรูปแบบจะไม่เหมือนกัน เอาไปใช้ในโปรแกรมหรือเครื่องที่ต่างกัน เวลาที่ใช้ในการ Render ก็ใช้เวลาไม่เหมือนกัน มากน้อยไม่เท่ากัน ขนาดของไฟล์เมื่อเก็บไว้นั้นแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน เราจึงต้องถามตนเองว่าจะเอาไปทำอะไร เช่น เอาไปทำแผ่นวีซีดี , เอาไปทำแผ่นดีวีดี ,เอาไปทำคลิปวีดีโอใส่ในอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

ภาพ แสดงการเลือกชนิดไฟล์

รายละเอียดชนิดไฟล์ที่จะ Render ดังนี้
1
. MainConcept MPEG-1 เป็นรูปแบบของ VCD (เลือกรูปแบบที่ช่อง template แล้วที่สำคัญ ระบบโทรทัศน์บ้านเราเป็นแบบ PAL เพราะฉะนั้นถ้าจะเลือก VCD ก็เลือกเป็น VCD PAL)
2. MainConcept MPEG-2 เป็นรูปแบบของ SVCD,DVD
3. MP3 Audio จะ Render งานออกมาแต่เสียง เป็นไฟล์ MP3 โดยเราสามารถเลือกคุณภาพของเสียงได้จากช่อง template หรือกด custom
4. OggVorbis เป็นรูปแบบไฟล์เสียงอีกรูปแบบหนึ่ง ให้เสียงดีกว่า MP3 ในขนาดที่เล็กกว่า แต่มีเครื่องเล่น และโปรแกรมที่สนับสนุนไฟล์ประเภทนี้น้อยกว่า mp3
5. QuickTime6 ไฟล์สกุล mov ที่ส่วนใหญ่ใช้บนอินเตอร์เน็ต
6.RealMedia9 ไฟล์สำหรับใช้บนอินเตอร์เน็ตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีให้เลือกทั้งเก็บเสียงอย่างเดียวและเก็บภาพด้วย
7. Video for Windows ไฟล์มาตรฐานของ Windows(.avi) มีมาตรฐานภายใน (codec) มากมายเช่น DivX, Indeo ฯลฯ ส่วนใหญ่ต้องตั้งค่ามาตรฐานก่อนว่าจะให้ออกมาเป็นประเภทอะไร จึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกดที่ Custom
8. Wave ไฟล์เสียงมาตรฐานของ windows ซึ่งให้เสียงดีมากเพราะไม่มีการบีบอัดเลย แต่ทำให้มีขนาดใหญ่มาก
9. Windows Media Audio V9 (WMA) เป็นไฟล์เสียงของ Microsoft นิยมใช้อินเตอร์เน็ต10. Windows Media Video V9(WMV) ไฟล์วิดีโอของ Microsoft นิยมใช้บนอินเตอร์เน็ต

ภาพ แสดงการเลือกรูปแบบของเทมเพลต

การเลือกรูปแบบการเก็บไฟล์และระยะเวลาในการ Render งาน เช่น
การเก็บเป็นไฟล์ชนิด AVI แบบ PAL DV ขนาด 720 x 576 ใช้เวลา Render 5.40 นาที ได้ไฟล์ขนาด 206 M (เก็บไว้แปลงเป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้) เก็บเป็นไฟล์ชนิด MPEG-1 แบบ PAL-VCD ขนาด 352 x 288 ใช้เวลา Render 1.55 นาที ได้ไฟล์ขนาด 10 M (ใช้เขียนแผ่น วีซีดี)
เก็บเป็นไฟล์ชนิด MPEG-2 แบบ PAL - DVD ขนาด 720 x 576 ใช้เวลา Render 6.40 นาที ได้ไฟล์ขนาด 43 M (ใช้เขียนแผ่น ดีวีดี)
เก็บเป็นไฟล์ชนิด MWV แบบ 256 Kbps ขนาด 320 x 240 ใช้เวลา Render 3.10 นาที ได้ไฟล์ขนาด 2 M (เพื่อใช้ในงานเว็บไซด์)

ที่มาของบทความ :
http://www.koogun.net/media/vegas/
http://www.thelittlekpy.com/for_donwload/How2UseVegas.pdf
http://www.adisonc.th.gs/web-a/disonc/aticle.htm

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดี ก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อนและมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองสื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะ จึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
1. เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
2. ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
3. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
5. ใช้เพื่อการเรียนการสอนแต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
7. ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูลรูปแบบการสอนเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
8. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ความจำความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และโครงสร้างของเนื้อหา

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้กับทุกสาขาอาชีพ
2. ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงการสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือการผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลักโดยเฉพาะและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อมาเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่าเว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน

การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอนและการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Author ware และ Tool Book ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต

การผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียในโรงเรียน
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการ นักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จะเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั้นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้
เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
1. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวกและสามารถทำสำเนาได้ง่าย
2. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง
3. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน ( Authoring tool ) ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
4. สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
5. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้นผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ
6. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ทุกระดับและหลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วย

องค์ประกอบที่เอื้อต่อการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัว ผลักดันให้ครู อาจารย์ และผู้บริหารทุกระดับของการศึกษาไทย หันมาให้ความสนใจกับการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐนอกจากได้มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทุกระดับ รวมทั้งแผนการให้ความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหาร ครูและอาจารย์แล้ว ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการผลิตและการจัดซื้อมัลติมีเดียด้วย ในส่วนของภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับการผลิตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเช่นกัน หลายโรงเรียนมีขีดความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยตนเองเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในกลุ่มโรงเรียน หรือใช้ในโรงเรียนในโครงการหรือเครือข่ายความร่วมมือกันบางโรงเรียนต้องซื้อจากผู้ผลิตอื่นๆ บางโรงเรียนใช้วิธีผสมผสานคือ ผลิตเองบ้าง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตตามความต้องการบ้าง

ที่มาของบทความ http://www.nma6.obec.go.th/korat6/news_file/p24058661455.doc